ระบบสารสนเทศบริหารความเสี่ยง
ระบบสารสนเทศบริหารความเสี่ยงหรือระบบ E-RMS (Electronic of Risk Management System) จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดทำรายงานตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั้งในระดับหน่วยงานและระดับมหาวิทยาลัย แบบรายงานในระบบประกอบไปด้วย
- แบบ RM-1 หรือ แบบกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบตามประเด็นยุทธศาสตร์เป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการบันทึกโครงการประจำปีของหน่วยงานเพื่อนำมาวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงประจำปี โดยในแบบรายงานกำหนดให้บันทึกข้อมูล ได้แก่ ชื่อโครงการ ยุทธศาสตร์ที่สัมพันธ์กับโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของโครงการ
- แบบ RM-2 หรือ แบบฟอร์มกำรวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นแบบฟอร์มใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงประจำปีของหน่วยงาน โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงตามโครงการที่ระบุไว้ในแบบ RM-1 แบบรายงานกำหนดให้บันทึกข้อมูล ได้แก่ ชื่อโครงการ (หรือชื่องานประจำ หรือชื่อด้านประเภทความเสี่ยง) วัตถุประสงค์โครงการ ผู้รับผิดชอบจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยงเรื่องที่วิเคราะห์ได้ ประเภทความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยง และการประเมินระดับระดับความเสี่ยง (ประเมินโอกาสเกิด (L) และประเมินผลกระทบ (C))
- แบบ RM2-1 หรือ แบบฟอร์มการระบุและประเมินความเสี่ยงเป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการประเมินและระบุความเสี่ยงที่จะเชื่อมข้อมูลมาจากแบบ RM-2 โดยตรง ซึ่งนอกจากจะประเมินระดับความเสี่ยงทั้งประเมินโอกาสเกิด (L) และผลกระทบ (C) แล้ว ยังต้องทำการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงแต่ละเรื่อง พร้อมด้วยกำหนดวิธีการตอบสนองความเสี่ยงด้วย
- แบบ RM-3 หรือ แผนบริหารความเสี่ยงเป็นแบบฟอร์มที่นำความเสี่ยงในเรื่องที่ตอบสนองความเสี่ยงด้วยวิธี “ควบคุมความเสี่ยง (Treat)” มาจัดทำเป็นแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อใช้ในการควบคุมหรือจัดการกับความเสี่ยงให้มีระดับความเสี่ยงที่ลดลง หรืออยู่ในระดับที่ผู้บริหารหน่วยงานยอมรับได้แบบรายงานกำหนดให้บันทึกข้อมูล ได้แก่ ชื่อโครงการ (หรือชื่องานประจำ หรือชื่อด้านประเภทความเสี่ยง) ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง แนวทางตอบสนอง แผนงาน/กิจกรรม (ที่ใช้ควบคุมความเสี่ยง) ชื่อผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาดำเนินงาน
- แบบ RM-4 หรือ แบบติดตำมผลการจัดการความเสี่ยงเป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลตามแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน โดยมีการติดตามผลการดำเนินงานจ านวน 2 ครั้ง/ปี คือ ติดตามรอบ 6 เดือน และติดตามรอบ 12 เดือนของปีงบประมาณ แบบรายงานกำหนดให้บันทึกข้อมูล ได้แก่ ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง ระดับความเสี่ยง แผนงาน/กิจกรรม (ที่ใช้ควบคุมความเสี่ยง) ระยะเวลาดำเนินการ ชื่อผู้รับผิดชอบ ผลการดำเนินงานของกิจกรรม (รอบ 6 เดือน หรือรอบ 12 เดือน) ร้อยละความคืบหน้า และปัญหา/อุปสรรค (ที่พบเจอขณะด าเนินการตามแผน)
- แบบ RM-5 หรือ แบบสรุปผลการประเมินความเสี่ยงภายหลังดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงเป็นแบบฟอร์มที่ให้ผู้รับผิดชอบทำการประเมินระดับความเสี่ยงอีกครั้งภายหลังที่ดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงครบทุกแผนงาน/กิจกรรมควบคุมแล้ว เพื่อทราบสถานะหรือระดับความเสี่ยงของความเสี่ยงแต่ละเรื่องว่าแผนบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ ใช้ลดระดับความเสี่ยงได้หรือไม่ แบบรายงานกำหนดให้บันทึกข้อมูล ได้แก่ ความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงก่อนและหลังดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ผลการเปลี่ยนแปลงระดับความเสี่ยง สรุปประสิทธิภาพของแผนบริหารความเสี่ยง (ควบคุมได้/ ควบคุมไม่ได้) และแนวทางดำเนินงานในปีถัดไป
นางสาวสุนันท์ แหวนประดับ
สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ระบบบริหารความเสี่ยง สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ระบบสารสนเทศบริหารความเสี่ยง. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2567, จาก https://e-rms.kpru.ac.th/main/?lang=TH&page_id=1
ข้อมูลอื่น ๆ
ระบบบริหารความเสี่ยง สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27 กันยายน 2562